เที่ยวเมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔ เที่ยวเมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔

เที่ยวเมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔

Travel Information

Travel Rate

วันที่ 1

Mallika City

ความเป็นมา

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ประมาณว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่

เมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔ จึงเป็นเมืองที่เราภาคภูมิใจ เพื่อแสดงให้ชาวไทยได้รู้ว่าบรรพบุรุษของเรานั้นมีภูมิปัญญาไม่แพ้ชาติใดในโลก แสดงให้ชาวโลกได้รู้ว่าชนชาติไทยมีเอกลักษณ์ที่เป็นไทยแท้ไม่แพ้ชาติใดในโลก

จุดสนใจต่างๆ

สะพานหัน   ชื่อนี้เรียกตามจาก ลักษณะของตัวสะพานที่ สมัยก่อนนั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ ส่วนอีกข้างจะไม่ตอกติด จับหันไปมาได้เพื่อให้เรือแล่นผ่านต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพานริอัลโตทีนครเวนิซ และที่ปองเตเวกคิโอ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ ให้ขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน ซึ่งสะพานนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ชอบเสด็จประพาสเพื่อซื้อผลไม้แห้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นลูกพลับแห้ง และผลไม้แห้งต่างๆ นานาชนิด

ย่านการค้า    ในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ มีย่านการค้าที่ขึ้นชื่อและมีสินค้ามากและทันสมัยสำหรับยุคสมัยนั้น ได้แก่ย่านถนนแพร่งนรา ชื่อถนนมาจากพระนาม “ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ “ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายวรวรรณษกร ต้นราชสกุลวรวรรณ ณ อยุธยา 

หอชมเมือง    จำลองมาจากหอคอยคุก ซึ่งเป็นหอคอยที่ใช้สำหรับตรวจตราป้องกันมิให้นักโทษหนี ซึ่งเมืองมัลลิกา ใช้สำหรับชมเมือง ว่ามีทัศนียภาพที่ว่างดงามเพียงใด

เรือนเดี่ยว     เป็นเรือนชาวบ้าน ซึ่งผู้ที่อาศัยอยู่เรือนนี้คือคนชนชั้นกรรมาชีพ มีหน้าที่ ผลิตปัจจัยเบื้องต้นในการยังชีพอันได้แก่ การทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกผัก สีข้าว ทอผ้า จักสาน อันเป็นอาชีพทั่วไปของชนชั้นนี้ ในเมืองมัลลิกา นั้นจะมีเรือนเดี่ยว เพื่อแสดงถึงวิถีของชาวบ้านในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ ว่ามีวิถีชีวิตอย่างไร

เรือนคหบดี    เป็นเรือนคนมีฐานะ บนเรือนคหบดีนั้น แสดงวิถีความเป็นอยู่ของชนชั้นปกครองซึ่งจะมีกิจกรรมบนเรือน เช่น งานใบตอง งานดอกไม้ งานเครื่องแขวน งานแกะสลักผลไม้

โรงครัว     ประกอบด้วย โรงสี ยุ้งข้าว โรงเตรียม แสดงกรรมวิธีการฝัดข้าว สีข้าว ตำข้าว พร้อมทั้ง การหุงข้าวเตากระทะใบบัว  โดยเป็นการประกอบอาหารด้วยเตาถ่านทั้งสิ้น

เรือนแพ    ในยุคสมัยนั้น การสัญจรไปมาส่วนใหญ่ใช้แม่น้ำดังนั้น ร้านค้าขายที่จะตั้งอยุ๋ริมน้ำเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในเมืองมัลลิกาก็เข่นเดียวกัน จะมีเรือนแพสำหรับค้าขาย เป็นร้านกาแฟ ตงฮู และเพื่อรองรับนักเดินทาง ก็จะมีร้านข้าวแกงทรงโปรดในเรือนแพนี้ด้วย 

เรือนหมู่    เป็นเรือนสำหรับรับรองแขกบ้านแขกเมือง ของคหบดีไทยซึ่งอาจเป็น ขุนนางผู้ทรงศักดิ์ หรือคหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งในสมัยนั้น นิยมมีคณะนาฎศิลป์ เป็นของตนเอง สำหรับรับแขก

ร้านอาหาร&การแสดง

อาหารสำหรับมื้อเย็น​  ประกอบไปด้วย หมี่กรอบ แกงบวน น้ำพริกขี้กา ยำใหญ่ แกงมัสมั่น ที่เลือกอาหารดังกล่าวมานั้นเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ลิ้มชิมอาหารที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยที่หากินได้ยากในปัจจุบัน หรือที่มีอยู่ก็ถูกดัดแปลงไปมากแล้ว

แกงบวน นำสมุนไพรต่างๆ มีคั่วมาตำแล้วจึงนำมาปรุงกับเครื่องในหมูทำให้ได้ต้มเครื่องในที่เรียกว่า แกงบวน

หมี่กรอบ หมี่กรอบดั้งเดิมนั้นเส้นหมีจะไม่ฟูแต่ขาวรสชาดหอมจากส้มซ่า หวานไม่มาก รสชาติกลมกล่อมแต่เก็บได้ไม่นาน

****ราคาบัตรรวม ข้าวสวย ผลไม้รวม เครื่องดื่ม (น้ำเปล่า) สามารถเติมอาหารได้ไม่จำกัด***

การแสดง​

มีทั้งหมด 8 ชุด ระยะเวลา 1 ชั่วโมง เริ่มแสดงที่เวลา 19.00 น.

  • ลาวกระทบไม้
  • กระบี่กระบอง
  • เพลงรำภิรมย์พัชนี
  • โขน (ตอนยกรบ)
  • รำซัดชาตรี
  • ฟ้อนแพน
  • รำกินรีร่อน
  • การแสดงเชิดหุ่นคน

บริการต่างๆ

รถลาก​  หรือที่เราเรียกกันติดปากว่ารถเจ๊ก รถที่ใช้คนลาก โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕

ค่าบริการ 50 บาท ต่อเที่ยว

สามารถซื้อตั๋วได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วหน้าเมือง

แต่งกายชุดไทย​

ผู้หญิง มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่

ราคา 200 บาท : ผ้าสไบ โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มรัด และร่ม
ราคา 300 บาท : เสื้อแขนหมูแฮม พร้อมแพรสะพาย โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มขัด และร่ม

ผู้ชาย

ราคา 100 บาท : เสื้อกุยเฮง โจงกระเบน และผ้าคาดเอว
ราคา 300 บาท : เสื้อราชปะแตน โจงกระเบน

เด็ก

ราคา 50 บาท : เสื้อคอกระเช้าสำหรับผู้หญิง เสื้อกุยเฮงสำหรับผู้ชาย และโจงกระเบน

หมายเหตุ: ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

เงินรู

เป็นเงินตราที่ใช้สมัยโบราณทั้งอยูธยาและสุโขทัย และได้นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในเมืองมัลลิกา

อัตราการแลกเงินรู : 1 สตางค์ = 5 บาท

***จบทริป***

ราคา

THB 10,000,000

วันเดินทาง

People

Adult

(Age 12+)

Child

(Age 6 to 11)

Infant

(Age 3 to 5)

Booking

Share this tour

Hippo’s Blog

View more

Hippo’s Tips & Recommend

View more